น้ำกลายเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อยๆไม่มีวันหมดสิ้นเมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลกน้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำอยู่ในอากาศเมื่อพบอากาศที่เย็นกว่าไอน้ำนั้นจะกลั่นตัวตกมาเป็นฝนอีกครั้ง แต่วิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ความสมดุลของทรัพยากรน้ำระหว่างฤดูแล้งและฤดูฝนไม่สมดุล รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆที่ขาดแผนการใช้ที่รัดกุมและเหมาะสมรวมทั้งขาดองค์กรระดับชาติที่จะเข้ามาบริหารจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนแหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันมีสภาพเสื่อมโทรม เน่าเสีย คุณภาพไม่เหมาะสมไม่สามารถนำมาใช้ได้ แม่น้ำเป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยสังคมเกษตรกรรม เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในครอบครัว เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของประชากร ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การเกษตรที่เคยอาศัยธรรมชาติเปลี่ยนเป็นระบบชลประทานแบบเร่งรัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ ทำให้แหล่งน้ำต่างๆต้องรับบทบาทในการรองรับของเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆเพิ่มมากขึ้นจนเกินขีดความสามารถที่จะฟอกตัวเองตามธรรมชาติได้หรือจนแทบเรียกได้ว่าไม่มีเวลาได้หายใจ จนก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียขึ้น เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การใช้ทรัพยากรเหล่านี้จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องใช้ตามศักยภาพของทรัพยากร เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนต่อไป การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ 1.ให้มีการศึกษาวางแผนการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น โครงการผันน้ำ โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำใต้ดิน เพื่อเป็นการรองรับการใช้น้ำระยะยาว 2.กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ โดยให้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด 3.ส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้และดูแลรักษาป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณแหล่งน้ำและต้นน้ำลำธาร 4.ให้ความสำคัญในการปรับปรุงแหล่งน้ำขนาดเล็ก รวมถึงการระมัดมะวังมิให้นำพื้นที่ชลประทาน แหล่งน้ำธรรมชาติ ระบบชลประทานมาใช้เพื่อประโยชน์อื่น 5.เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ การใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อให้มีวินัยในการใช้น้ำอย่างถูกต้อง รวมทั้งการอนุรักษ์น้ำอย่างถูกวิธี