แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสาขาที่สำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ต้นน้ำเริ่มที่ อ.ด่านซ้าย จังหวัดเลย ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์, ลพบุรี, สระบุรี, และบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาว 513 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 14,520 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในแต่ละปี 2,400ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม ในปัจจุบันความต้องการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และลุ่มน้ำป่าสักมีเพิ่มทวีขึ้นทุกปี อีกทั้งปัญหาอุทกภัยซึ่งทำความเสียหายให้กับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล น้ำจากแม่น้ำป่าสักมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงด้วยเช่นกัน จึงสมควรที่จะดำเนินการศึกษาถึงความเหมาะสมของโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักโดยการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำแนวทางหนึ่ง โครงการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ซึ่งมีปริมาณน้ำจำนวนมากที่จะนำไปใช้ได้อย่างพอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ประโยชน์นานัปการจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ด้วยปริมาณน้ำที่เก็บกักได้จะสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตร อุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมได้อย่างครบถ้วน รวมไปถึงการเกิดแหล่งประมง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งใหม่ ตลอดจนเพิ่มความสะดวกและความคล่องตัวในด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำในพื้นที่ภาคกลาง นอกจากนั้นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ยังช่วยลดความรุนแรงอันเกิดจากอุทกภัยในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ทั้งยังเอื้อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ จะชุ่มชื้นไปด้วยน้ำ และดินที่มีคุณภาพ ป่าไม้ที่สมบูรณ์ และสัตว์นานาชนิด การอุปโภคบริโภคและการอุตสาหกรรมมีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่มาก รองลงไปจากการเกษตร การเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แล้วระบายลงมาในลำน้ำป่าสัก โดยการจัดสรรน้ำให้มีน้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปีจะช่วยให้ประชาชนสองฝั่งลำน้ำป่าสักในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย และอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีน้ำใช้สำหรับอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งการผลิตน้ำประปาของอำเภอเมืองสระบุรี… Continue reading การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักฯเพื่อการอุปโภคบริโภคและการอุตสาหกรรม
Tag: ทรัพยากรน้ำ
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ
น้ำกลายเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อยๆไม่มีวันหมดสิ้นเมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลกน้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำอยู่ในอากาศเมื่อพบอากาศที่เย็นกว่าไอน้ำนั้นจะกลั่นตัวตกมาเป็นฝนอีกครั้ง แต่วิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ความสมดุลของทรัพยากรน้ำระหว่างฤดูแล้งและฤดูฝนไม่สมดุล รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆที่ขาดแผนการใช้ที่รัดกุมและเหมาะสมรวมทั้งขาดองค์กรระดับชาติที่จะเข้ามาบริหารจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนแหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันมีสภาพเสื่อมโทรม เน่าเสีย คุณภาพไม่เหมาะสมไม่สามารถนำมาใช้ได้ แม่น้ำเป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยสังคมเกษตรกรรม เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในครอบครัว เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของประชากร ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การเกษตรที่เคยอาศัยธรรมชาติเปลี่ยนเป็นระบบชลประทานแบบเร่งรัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ ทำให้แหล่งน้ำต่างๆต้องรับบทบาทในการรองรับของเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆเพิ่มมากขึ้นจนเกินขีดความสามารถที่จะฟอกตัวเองตามธรรมชาติได้หรือจนแทบเรียกได้ว่าไม่มีเวลาได้หายใจ จนก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียขึ้น เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การใช้ทรัพยากรเหล่านี้จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องใช้ตามศักยภาพของทรัพยากร เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนต่อไป การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ 1.ให้มีการศึกษาวางแผนการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น โครงการผันน้ำ โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำใต้ดิน เพื่อเป็นการรองรับการใช้น้ำระยะยาว 2.กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ โดยให้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด 3.ส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้และดูแลรักษาป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณแหล่งน้ำและต้นน้ำลำธาร 4.ให้ความสำคัญในการปรับปรุงแหล่งน้ำขนาดเล็ก รวมถึงการระมัดมะวังมิให้นำพื้นที่ชลประทาน แหล่งน้ำธรรมชาติ ระบบชลประทานมาใช้เพื่อประโยชน์อื่น 5.เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ การใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อให้มีวินัยในการใช้น้ำอย่างถูกต้อง รวมทั้งการอนุรักษ์น้ำอย่างถูกวิธี
การพัฒนาและจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
แม่น้ำเป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยสังคมเกษตรกรรม เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในครอบครัว เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของประชากร ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การเกษตรที่เคยอาศัยธรรมชาติเปลี่ยนเป็นระบบชลประทานแบบเร่งรัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ ทำให้แหล่งน้ำต่างๆต้องรับบทบาทในการรองรับของเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆเพิ่มมากขึ้น แหล่งน้ำที่เป็นสายเลือดหลักของประเทศและมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นหากมองย้อนกลับเปรียบเทียบกับคุณภาพของแหล่งน้ำเหล่านี้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ดังนั้นถ้าไม่มีมาตรการในการใช้ทรัพยากรน้ำให้เหมาะสมก็จะส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ นอกจากจะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำแล้ว ปัญหามลพิษจากภาวะน้ำเน่าเสียก็จะทวีความรุนแรงในขณะเดียวกัน ทรัพยากรน้ำที่มีจำกัดและผันแปรอย่างมากโดยเฉพาะสถานการณ์โลกร้อน ในฤดูฝนน้ำมีมากเกินไปจนเกิดอุทกภัย ส่วนในฤดูแล้งน้ำมีน้อยจนขาดแคลน ความเสียหายจากน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้นและความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนา ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเพื่ออุปโภคบริโภคและเพื่อการผลิตพลังงาน น้ำจึงมีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์และความสมดุลและยั่งยืนของระบบนิเวศน์ การจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการรวมถึงการใช้ทรัพยากรอันมีค่านี้อย่างเหมาะสมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการศึกษาความเหมาะสม การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การติดตามและประเมินผลโครงการ การประชาสัมพันธ์และพัฒนาการมีส่วนร่วมการให้คำปรึกษาเชิงนโยบายให้แก่หน่วยงานที่ดูแลทรัพยากรน้ำในระดับประเทศ รวมถึงการสร้าง ติดตั้ง ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องมือและระบบที่ช่วยตัดสินใจเพื่อให้การจัดการและการใช้น้ำมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ 1.ใช้สำหรับการบริโภคและอุปโภค เพื่อดื่มกิน ประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ทำความสะอาด ฯลฯ 2.ใช้สำหรับการเกษตร ได้ แก่ การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร 3.ด้านอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ล้างของเสีย หล่อเครื่องจักร และระบายความร้อน ฯลฯ 4.การทำนาเกลือ โดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล หรือระเหยน้ำที่ใช้ละลายเกลือสินเธาว์ 5.น้ำเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า 6.เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล… Continue reading การพัฒนาและจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน