การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งประเทศไทย โดยการบูรณาแนวทางที่หลากหลายเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย คือการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดเวลาที่ผ่านมามีการดำเนินงานด้านการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร การพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล งานฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล งานฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่ง การสนับสนุนด้านข้อมูลทางเทคนิคสำหรับท้องถิ่น ผู้ประกอบการท่องเที่ยว องค์กรพันธมิตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการร่วมขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ตลอดจนข้อกฎหมาย ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมากโดยขาดการจัดการที่เหมาะสม จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว และมีความพยายามที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพที่ดี ลดสภาพเสื่อมโทรมเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นเวลานาน และเป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบไปอยู่ตลอดเวลา การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเล เพื่อดำเนินงานอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเล เสริมการดำเนินโครงการอนุรักษ์ให้ปรากฏผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลาที่รวดเร็ว มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุให้สัมฤทธิ์ผลในระดับหนึ่ง ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้นในบริเวณทะเลและชายฝั่ง อันอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย เลน น้ำ พืช ป่าชายเลน ส่วนประกอบของพืชหรือส่วนประกอบของสัตว์ และหมายรวมถึงความสวยงามที่ประกอบขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่หรือที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น ด้วยความตระหนักว่าการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเอกภาพขาดการบูรณาการและไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จึงได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง| – กำหนดมาตรการสงวน อนุรักษ์ฟื้นฟู และคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง – ดำเนินการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และค้มครองทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง – ดำเนินการ… Continue reading การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง