กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ท่ามกลางเศรษฐกิจ สังคมที่กำลังพัฒนา ทำให้เกิดความตื่นตัวในการร่วมอนุรักษ์ รักษา เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม จากปัญหาความเสื่อมโทรม และผลกระทบ ที่เกิดจากทุกกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งจากชุมชน ภาคเกษตรกรรม การคมนาคมการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึง ภาคอุตสาหกรรม ที่ขยายตัวไปพร้อมกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งในปัจจุบันผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม ต่อท้องถิ่นยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ อุตสาหกรรม เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สามารถกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน มีการเติบโต และเกิดความก้าวหน้าในการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีในแขนงต่างๆ แต่ขณะเดียวกันเมื่อมีขบวนการผลิตเกิดขึ้นภายในสถานประกอบการ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือของเสีย หรือสารมลพิษที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ น้ำเสีย สารมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และขยะมูลฝอย อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการจัดการ เมื่อมีการปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ต่อชุมชนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืชและสัตว์ ปัญหาด้านผลกระทบของมลพิษจากสถานประกอบการ หรือโรงงานเป็นปัญหาท้าทายความสามารถของทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริหารท้องถิ่น หน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และชุมชน ในการบริหารจัดการ ตลอดจนการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน… Continue reading ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศให้คงอยู่ตลอดไป
ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่อำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่มนุษยชาติมากมายหลายประการ นับตั้งแต่รักษาดุลธรรมชาติ ควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศให้อยู่ในสภาพปกติ ไม่แปรปรวน รักษาต้นน้ำลำธาร พันธุ์พฤกษชาติและสัตว์ชาติ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ให้ให้มนุษย์ได้บริโภคใช้สอยและประกอบอาชีพการทำไม้ การเก็บหาของป่า การขนส่ง การอุตสาหกรรม การผลิตไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบจากไม้และของป่า ตลอดจนการส่งจำหน่ายเป็นรายได้แก่ประชาชนและประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย พื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการรักษาเสถียรภาพเชิงนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ความหลากหลายด้านชีววิทยา เป็นสถานที่พิเศษสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งความรู้ทางการศึกษา แต่การประกาศพื้นที่อนุรักษ์ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่เคยอาศัยในพื้นที่ เนื่องจากไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ทรัพยากรในอุทยานแห่งชาติได้ อย่างไรก็ดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้พยายามเสริมสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและบริหารจัดการป่าไม้ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ได้ในแนวทางการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน ให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลและบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติบางส่วน และให้ชุมชนสามารถอยู่อาศัยและทำกินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การทำลายป่าไม้นอกจากจะทำให้ปริมาณไม้ที่จะใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจลดลงโดยตรงแล้ว ยังเป็นผลที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างมากมายอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าป่าไม้ช่วยทำให้อากาศชุมชื้นเพราะป่าไม้จะช่วยเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้เกิดต้นน้ำลำธารและกระแสน้ำไหลไปตามปกติ ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ป่าไม้ยังช่วยทำให้เกิดพืชพันธุ์ไม้อื่นและสัตว์ป่า เนื่องจากต้นไม้จะนำคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศไปใช้ในปีหนึ่งๆนับล้านๆตัน เมื่อป่าไม้ถูกตัดทำลายลงในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีผลให้อุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น ทำให้อากาศร้อนและแห้งแล้ง การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ด้วยความร่วมมือทั้งภาครัฐเอกชน และประชาชน โดยรัฐบาลต้องมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้ 1.การคุ้มครองป่าไม้ 2.การควบคุมการตัดไม้ 3.การปลูกป่า 4.การป้องกันไฟป่าและแมลงทำลายต้นไม้ 5.การใช้ไม้อย่างประหยัด ใช้วัสดุอื่นแทนไม้ หรือการนำเศษไม้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 6.การปรามปราบผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า 7.การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของป่าไม้ 8.มีนโยบายเปิดป่าสัมปทานการทำป่าไม้เพื่อช่วยอนุรักษ์ป่า
การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งประเทศไทย โดยการบูรณาแนวทางที่หลากหลายเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย คือการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดเวลาที่ผ่านมามีการดำเนินงานด้านการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร การพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล งานฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล งานฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่ง การสนับสนุนด้านข้อมูลทางเทคนิคสำหรับท้องถิ่น ผู้ประกอบการท่องเที่ยว องค์กรพันธมิตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการร่วมขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ตลอดจนข้อกฎหมาย ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมากโดยขาดการจัดการที่เหมาะสม จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว และมีความพยายามที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพที่ดี ลดสภาพเสื่อมโทรมเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นเวลานาน และเป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบไปอยู่ตลอดเวลา การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเล เพื่อดำเนินงานอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเล เสริมการดำเนินโครงการอนุรักษ์ให้ปรากฏผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลาที่รวดเร็ว มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุให้สัมฤทธิ์ผลในระดับหนึ่ง ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้นในบริเวณทะเลและชายฝั่ง อันอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย เลน น้ำ พืช ป่าชายเลน ส่วนประกอบของพืชหรือส่วนประกอบของสัตว์ และหมายรวมถึงความสวยงามที่ประกอบขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่หรือที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น ด้วยความตระหนักว่าการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเอกภาพขาดการบูรณาการและไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จึงได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง| – กำหนดมาตรการสงวน อนุรักษ์ฟื้นฟู และคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง – ดำเนินการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และค้มครองทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง – ดำเนินการ… Continue reading การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
สิ่งสำคัญในการดูแลความสะอาดทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่กับเราได้นาน
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลายจะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น… Continue reading สิ่งสำคัญในการดูแลความสะอาดทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่กับเราได้นาน
การพัฒนาและจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
แม่น้ำเป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยสังคมเกษตรกรรม เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในครอบครัว เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของประชากร ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การเกษตรที่เคยอาศัยธรรมชาติเปลี่ยนเป็นระบบชลประทานแบบเร่งรัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ ทำให้แหล่งน้ำต่างๆต้องรับบทบาทในการรองรับของเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆเพิ่มมากขึ้น แหล่งน้ำที่เป็นสายเลือดหลักของประเทศและมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นหากมองย้อนกลับเปรียบเทียบกับคุณภาพของแหล่งน้ำเหล่านี้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ดังนั้นถ้าไม่มีมาตรการในการใช้ทรัพยากรน้ำให้เหมาะสมก็จะส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ นอกจากจะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำแล้ว ปัญหามลพิษจากภาวะน้ำเน่าเสียก็จะทวีความรุนแรงในขณะเดียวกัน ทรัพยากรน้ำที่มีจำกัดและผันแปรอย่างมากโดยเฉพาะสถานการณ์โลกร้อน ในฤดูฝนน้ำมีมากเกินไปจนเกิดอุทกภัย ส่วนในฤดูแล้งน้ำมีน้อยจนขาดแคลน ความเสียหายจากน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้นและความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนา ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเพื่ออุปโภคบริโภคและเพื่อการผลิตพลังงาน น้ำจึงมีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์และความสมดุลและยั่งยืนของระบบนิเวศน์ การจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการรวมถึงการใช้ทรัพยากรอันมีค่านี้อย่างเหมาะสมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการศึกษาความเหมาะสม การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การติดตามและประเมินผลโครงการ การประชาสัมพันธ์และพัฒนาการมีส่วนร่วมการให้คำปรึกษาเชิงนโยบายให้แก่หน่วยงานที่ดูแลทรัพยากรน้ำในระดับประเทศ รวมถึงการสร้าง ติดตั้ง ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องมือและระบบที่ช่วยตัดสินใจเพื่อให้การจัดการและการใช้น้ำมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ 1.ใช้สำหรับการบริโภคและอุปโภค เพื่อดื่มกิน ประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ทำความสะอาด ฯลฯ 2.ใช้สำหรับการเกษตร ได้ แก่ การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร 3.ด้านอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ล้างของเสีย หล่อเครื่องจักร และระบายความร้อน ฯลฯ 4.การทำนาเกลือ โดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล หรือระเหยน้ำที่ใช้ละลายเกลือสินเธาว์ 5.น้ำเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า 6.เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล… Continue reading การพัฒนาและจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
องค์กรต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ปัจจุบันเราทราบดีแล้วว่า สิ่งแวดล้อมของโลกได้ถูกมนุษย์ทำลายลงเป็นอย่างมาก เช่น การ ตัดไม้ทำลายป่า การกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก การใช้ สารเคมีในการปราบศัตรูพืชมากเกินไป ทำให้เกิดผลตามมา เช่น แมลงดื้อยา ดินเสื่อมสภาพ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปของสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดบนโลก รวมทั้งมนุษย์ด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้น เราจึงหันมาให้ความสนใจในการที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในสภาพที่ดีอย่างยั่ง ยืน โดยมีหลักการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ปัญหาที่เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นปัญหา ที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ต่อแหล่งธรรมชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม มากกว่าเกิดจากการกระทำของธรรมชาติ ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้ จึงต้องดำเนินการโดยมนุษย์เอง โดยจะต้อง ให้มีการจัดการ ในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อให้แหล่งธรรมชาติ คงไว้ซึ่งคุณค่า ความสำคัญและให้การเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีดังนี้ 1. ให้หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันวางแผนในการดำเนินการป้องกัน สงวน รักษาและอนุรักษ์ไว้ ซึ่งคุณค่าความสำคัญ และสภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ อย่างจริงจัง ทั้งนี้ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จัดทำหลักเกณฑ์การพัฒนาเทคนิควิธีการประเมินคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและกำหนดมาตรการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์แต่ละประเภทให้ชัดเจนรวมทั้งจัดทำแนวทางขอบเขตการศึกษาการจัดทำแผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติเฉพาะแหล่งให้หน่วยงาน ท้องถิ่นที่รับผิดชอบ แหล่งธรรมชาตินั้นๆ นำไปใช้ ในการวางแผนการจัดการพื้นที่แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์… Continue reading องค์กรต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ช่วยกันดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้อยู่ตลอดไป
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย จะเห็นว่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น ประเทศไทยเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและในน้ำ การเร่งรัดพัฒนาประเทศที่เริ่มต้นเมื่อกว่าสามสิบปีมาแล้ว โดยมิได้ระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเท่าที่ควร ทำให้มีการตักตวง ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองมิได้คำนึงถึงอัตราการเกิดทดแทนหรือการฟื้นตัวตามธรรมชาติ ดังนั้นในปัจุบันทรัพยากรธรรมชาติของประเทศจึงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม สร้างข้อจำกัดของการพัฒนาในระยะต่อไป ในขณะนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่าย ทั้งส่วนราชการและเอกชนจะต้องหันมาสนใจ และร่วมมือกันเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง ให้สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชน ทั้งในเมืองและในชนบท และการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไปตามหลักวิชาการ จัดประเภททรัพยากรธรรมชาติ ออกเป็น 3 ประเภท ที่สำคัญดังนี้ 1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมด หรือสูญหายไป เราสามารถใช้ทรัพยากรประเภทนี้ได้อย่างไม่จำกัด เนื่องจากธรรมชาติสร้างให้มีใช้อยู่ตลอดเวลา ได้แก่ บรรยากาศน้ำที่อยู่ใน วัฎจักร ซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของน้ำ กล่าวคือ เมื่อน้ำตามที่ต่างๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์… Continue reading ช่วยกันดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้อยู่ตลอดไป