การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า “หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้” เช่นเดียวกับ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนสร้างขึ้นจากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งก่อเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง ประโยชน์ที่ได้จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คือ เป็นแหล่งสำหรับอุปโภค บริโภคของประชาชนในเขตลพบุรีและสระบุรี เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเขตลพบุรีและสระบุรี เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในเขตลพบุรีและสระบุรี เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่และแหล่งเพาะพันธ์ปลา ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง และการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเดิม ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีขยายตัวมากขึ้น ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีรวมทั้งในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ… Continue reading เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
Category: อินเตอร์เน็ต
การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักฯเพื่อการอุปโภคบริโภคและการอุตสาหกรรม
แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสาขาที่สำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ต้นน้ำเริ่มที่ อ.ด่านซ้าย จังหวัดเลย ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์, ลพบุรี, สระบุรี, และบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาว 513 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 14,520 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในแต่ละปี 2,400ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม ในปัจจุบันความต้องการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และลุ่มน้ำป่าสักมีเพิ่มทวีขึ้นทุกปี อีกทั้งปัญหาอุทกภัยซึ่งทำความเสียหายให้กับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล น้ำจากแม่น้ำป่าสักมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงด้วยเช่นกัน จึงสมควรที่จะดำเนินการศึกษาถึงความเหมาะสมของโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักโดยการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำแนวทางหนึ่ง โครงการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ซึ่งมีปริมาณน้ำจำนวนมากที่จะนำไปใช้ได้อย่างพอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ประโยชน์นานัปการจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ด้วยปริมาณน้ำที่เก็บกักได้จะสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตร อุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมได้อย่างครบถ้วน รวมไปถึงการเกิดแหล่งประมง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งใหม่ ตลอดจนเพิ่มความสะดวกและความคล่องตัวในด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำในพื้นที่ภาคกลาง นอกจากนั้นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ยังช่วยลดความรุนแรงอันเกิดจากอุทกภัยในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ทั้งยังเอื้อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ จะชุ่มชื้นไปด้วยน้ำ และดินที่มีคุณภาพ ป่าไม้ที่สมบูรณ์ และสัตว์นานาชนิด การอุปโภคบริโภคและการอุตสาหกรรมมีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่มาก รองลงไปจากการเกษตร การเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แล้วระบายลงมาในลำน้ำป่าสัก โดยการจัดสรรน้ำให้มีน้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปีจะช่วยให้ประชาชนสองฝั่งลำน้ำป่าสักในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย และอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีน้ำใช้สำหรับอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งการผลิตน้ำประปาของอำเภอเมืองสระบุรี… Continue reading การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักฯเพื่อการอุปโภคบริโภคและการอุตสาหกรรม
กลไกควบคุมการปล่อยมลพิษทางน้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าการประมงในทะเลสาบสงขลา
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่ เสนอให้ใช้กลไกการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษทางน้ำในทะเลสาบสงขลาพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย เพื่อลดมลพิษจากการผลิตของตนเอง โดยมีอนุญาตการปล่อยน้ำเสียชนิดเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ได้เป็นเครื่องมือควบคุมการปล่อยมลพิษของผู้ผลิตรายใหญ่ และมีค่าธรรมเนียมในการปล่อยน้ำเสียเป็นเครื่องมือควบคุมผู้ผลิตที่มีขนาดกลาง และขนาดเล็ก ทั้งนี้ เพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำและเพิ่มมูลค่าการประมงในทะเลสาบสงขลา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจจำนวนมาก มีความอุดมสมบูรณ์ในอดีตและมีความหลากหลายทางชีวิภาพสูง โดยเลือกผลผลิตของกุ้งตะกาดเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและคุณค่าทางเศรษฐกิจของทะเลสาบสงขลา เนื่องจากกุ้งตะกาดเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่นที่พบมากถึงร้อยละ 74 ของผลผลิตกุ้งในทะเลสาบสงขลา และเป็นสัตว์น้ำที่มีราคาสูงที่ชาวประมงพึ่งพิงเป็นรายได้หลัก นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตประมงมีทั้งเรื่องคุณภาพน้ำที่เชื่อมโยงจากแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ เช่น น้ำเสียจากชุมชน, ปริมาณการลงแรงทำประมง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ประมงและจำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมง รวมถึงระดับความเค็มของน้ำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบายว่าให้นำการใช้กลไกการสร้างแรงจูงให้ผู้ก่อมลพิษหันมาสนใจพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียเพื่อลดมลพิษจากการผลิตของตนผ่านใบอนุญาตปล่อยน้ำเสียชนิดเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ได้เป็นเครื่องมือควบคุมการปล่อยมลพิษของผู้ผลิตรายใหญ่ และใช้ค่าธรรมเนียมในการปล่อยน้ำเสียเป็นเครื่องมือควบคุมผู้ผลิตที่มีขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนการศึกษาเรื่องนโยบายการควบคุมการทำประมงในทะเลสาบสงขลาพบว่า นโยบายการจัดการร่วมกันโดยชุมชนสามารถควบคุมการวางไซได้ดีกว่ามาตรการควบคุมโดยรัฐ และการกำหนดสิทธิในการวางไซที่สามารถเปลี่ยนมือได้จะควบคุมการละเมิดได้ดีกว่าสิทธิที่ไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ สำหรับทะเลสาบสงขลามีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ จ.สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช เป็นทะเลสาบเปิดที่ประกอบด้วยทะเลสาบย่อยเชื่อมต่อกัน 3 จุด โดยมีทางเปิดออกสู่ทะเลอยู่ตอนใต้สุด มีทั้งน้ำกร่อยและน้ำเค็มขึ้นอยู่กับฤดูกาล มีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 1,040 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันกำลังเผชิญสภาวะการลดลงของผลผลิตประมงอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุคุณภาพน้ำที่เสื่อมลงและการจับสัตว์น้ำที่เพิ่มมากขึ้น โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาหลายหน่วยงานพยายามหามาตรการมาควบคุมการจับสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา แต่ผลการปฏิบัติยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ของคณะนักวิจัย ม.อ.หาดใหญ่ ครั้งนี้ ก็น่าจะเป็นอีกแนวทางที่สะท้อนปัญหาและกระตุ้นเตือนให้คนสงขลาหันมาให้ความสำคัญและร่วมกันฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอย่างจริงจังอีกครั้ง
การอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล เพื่อฟื้นฟูสมดุลทางทะเล
การฟื้นฟูแนวหญ้าทะเลนั้น มีความสำคัญซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ปัจจุบันมีการย้ายปลูกหญ้าทะเลทั้งในพื้นที่เดิมที่เสื่อมโทรมและในพื้นที่ใหม่ ที่ไม่เคยมีหญ้าทะเล การย้ายปลูกคือวิธีการที่ใช้ในการย้ายหญ้าทะเลไปปลูกในบริเวณที่เคยมีหญ้าทะเลปรากฏมาก่อนแต่ได้สูญหายไป เนื่องจากผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์หรือธรรมชาติ หรือการปลูกหญ้าทะเลขึ้นใหม่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่จะช่วยสนับสนุนให้การฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลประสบความสำเร็จ อย่างเช่น การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนในการดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การสร้างชุมชนให้เข็มแข็งสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของหญ้าทะเล การสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับภาครัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน และการควบคุมการใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายแหล่งหญ้าทะเล โดยหลักการที่ถูกต้องคือควรปล่อยให้หญ้าทะเลฟื้นตัวตามธรรมชาติ เพราะระบบนิเวศหญ้าทะเลสามารถฟื้นตัวได้เร็วและใช้แนวทางการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ โดยลดภัยคุกคามที่มีผลทำให้หญ้าทะเลเสื่อมโทรม ทั้งนี้การเพาะเลี้ยงหญ้าทะเลสามารถทำได้โดยการเก็บเมล็ดของหญ้าทะเลมาเพาะให้เจริญเติบโตพอสมควรและมีรากที่สมบูรณ์ แล้วจึงนำไปปลูกในที่ที่เหมาะสม ซึ่งควรให้เมล็ดพันธุ์หญ้าทะเลมีการเจริญแพร่พันธุ์ในแหล่งเดิมตามธรรมชาติด้วย นอกจากนี้หญ้าทะเลจะเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์มากในบ่อดินที่ใช้เป็นบ่อพัก น้ำทะเล หรือในบ่อดินที่เป็นบ่อกุ้งหรือสัตว์น้ำอื่นๆ สำหรับระบบนิเวศหญ้าทะเลนั้นสามารถช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำ ลดความแรงของคลื่นและยังช่วยลดการฟุ้งกระจายของตะกอนให้เกิดขึ้นน้อยลง ซึ่งมีส่วนในการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้คงทนรวมทั้งลดการพังทลายให้เกิดน้อยลงด้วย จะเห็นได้ว่า หญ้าทะเลมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการป้องกันภัยธรรมชาติ อีกทั้งยังช่วยดูดซึมสารอาหารที่มีอยู่ในน้ำทะเลซึ่งจะส่งผลดีช่วยทำให้น้ำทะเลมีคุณภาพดีขึ้นและเหมาะกับการนำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน และยังเป็นที่หลบภัยและแหล่งอาหารที่ดีให้กับสัตว์น้ำเหล่านี้ได้อีกด้วย
การจัดกิจกรรมฟื้นฟูป่าชายเลนมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
การฟื้นฟูป่าชายเลน โดยชุมชนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีองค์กรต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งระดับของการมีส่วนร่วมมีมากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพความเหมาะสมและการทำงานของแต่ละหน่วยงาน โดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าชายเลนนับว่าเป็นแนวทางที่น่าจะได้รับการยอมรับสูง เนื่องจากมีชุมชนหลายแห่งประสบผลสำเร็จด้วยดีจากการจัดการของชุมชนท้องถิ่นเอง เพราะว่าชุมชนท้องถิ่นตามแนวชายฝั่งล้วนมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาและผูกพันกับทรัพยากรป่าชายเลนอยู่แล้ว นอกจากนั้นบทเรียนและประสบการณ์ที่ชุมชนได้รับในอดีต ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จูงใจให้กับชุมชนมามีบทบาทในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ดังนั้นการจัดทำเอกสารในการฟื้นฟูป่าชายเลนให้กับชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องสามารถกระทำได้หลายๆวิธีที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และแนวทางนี้ชุมชนอาจจะประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ชุมชนจะต้องมีการเรียนรู้และปรึกษาหารือจึงจะทำให้การฟื้นฟูป่าชายเลนประสบผลสำเร็จด้วยดีตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ป่าชายเลนเป็นแหล่งรวมพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีกและสัตว์น้ำ นับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์มากทั้งในเขตป่าชายเลนและตามแนวชายฝั่ง โดยเฉพาะกุ้ง หอย ปู ปลา ที่มีมากมายหลายชนิดที่ชาวบ้านสามารถนำมารับประทานและขายเป็นรายได้ตลอดทั้งปี ดังนั้น ป่าชายเลน จึงเปรียบเสมือนตลาดสดสำหรับชุมชน ชุมชนชายฝั่งจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนเป็นหลัก อีกทั้งป่าชายเลนยังคอยเกื้อหนุนต่อทรัพยากรทางทะเลซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนชนิดต่างๆ เป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำที่สำคัญช่วยป้องกันการพังทลายชายฝั่งจากคลื่นลมและทำหน้าที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง ที่เกื้อกูลต่อพันธุ์สัตว์และพรรณพืช รวมถึงลดมลภาวะทางอากาศและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ฉะนั้น หากป่าชายเลนถูกทำลายก็จะส่งผลต่อจำนวนของสัตว์น้ำที่ลดลง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการทำมาหากินเป็นอย่างมาก ดังนั้น การฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชน นับว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าจะได้รับความสนใจและจะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างสูง และยังช่วยให้ชุมชนมีการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของตนเองกระทั่งกลับคืนสู่สภาพอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งใช้ประโยชน์ของชุมชนดังเดิม
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ
น้ำกลายเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อยๆไม่มีวันหมดสิ้นเมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลกน้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำอยู่ในอากาศเมื่อพบอากาศที่เย็นกว่าไอน้ำนั้นจะกลั่นตัวตกมาเป็นฝนอีกครั้ง แต่วิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ความสมดุลของทรัพยากรน้ำระหว่างฤดูแล้งและฤดูฝนไม่สมดุล รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆที่ขาดแผนการใช้ที่รัดกุมและเหมาะสมรวมทั้งขาดองค์กรระดับชาติที่จะเข้ามาบริหารจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนแหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันมีสภาพเสื่อมโทรม เน่าเสีย คุณภาพไม่เหมาะสมไม่สามารถนำมาใช้ได้ แม่น้ำเป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยสังคมเกษตรกรรม เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในครอบครัว เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของประชากร ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การเกษตรที่เคยอาศัยธรรมชาติเปลี่ยนเป็นระบบชลประทานแบบเร่งรัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ ทำให้แหล่งน้ำต่างๆต้องรับบทบาทในการรองรับของเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆเพิ่มมากขึ้นจนเกินขีดความสามารถที่จะฟอกตัวเองตามธรรมชาติได้หรือจนแทบเรียกได้ว่าไม่มีเวลาได้หายใจ จนก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียขึ้น เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การใช้ทรัพยากรเหล่านี้จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องใช้ตามศักยภาพของทรัพยากร เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนต่อไป การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ 1.ให้มีการศึกษาวางแผนการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น โครงการผันน้ำ โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำใต้ดิน เพื่อเป็นการรองรับการใช้น้ำระยะยาว 2.กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ โดยให้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด 3.ส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้และดูแลรักษาป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณแหล่งน้ำและต้นน้ำลำธาร 4.ให้ความสำคัญในการปรับปรุงแหล่งน้ำขนาดเล็ก รวมถึงการระมัดมะวังมิให้นำพื้นที่ชลประทาน แหล่งน้ำธรรมชาติ ระบบชลประทานมาใช้เพื่อประโยชน์อื่น 5.เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ การใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อให้มีวินัยในการใช้น้ำอย่างถูกต้อง รวมทั้งการอนุรักษ์น้ำอย่างถูกวิธี
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องในปัจจุบัน
มนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพราะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ได้รับปัจจัยสี่ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย แต่ขณะเดียวกันการกระทำของมนุษย์เองได้ส่งผลกระทบต่อสภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเนื่องจากความจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ได้มีผลทำให้เกิด การแก่งแย่งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ยังได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฟุ่มเฟือยและไม่มีแผนการจัดการโดยมุ่งหวังผลกำไรสูงสุด แต่เพียงอย่างเดียว จึงมีผลทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมและการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือการแพร่กระจายของภาวะมลพิษจากขบวนการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้น ๆ ด้วยประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาได้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยขาดความระมัดระวังและคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอมาโดยตลอด จึงมีผลทำให้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและการแพร่กระจายของปัญหามลพิษ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จนเห็นได้อย่าง ชัดเจนในปัจจุบัน อาทิเช่น พื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุก ทำลาย จนมีสัดส่วนไม่เหมาะสมกับการรักษาสภาพความสมดุลของระบบธรรมชาติหรือระบบนิเวศ หรือภาวะน้ำเน่าเสียในแม่น้ำสายหลัก ทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง หรือภาวะอากาศเสียในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองหลัก อันเนื่องมาจากควันพิษรถยนต์ การเกิดปฏิบัติการเรือนกระจก (โลกร้อน) เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศมีสภาพที่พร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไปนั้น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการจึงเป็นวิธีการที่จำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการทั้งนี้เพื่อที่จะสงวนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไว้ให้มนุษย์ได้พึ่งพาอาศัยอย่างยาวนานต่อไป รวมทั้งยังจะก่อให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศด้วย
การอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในประเทศไทยนั้นมีอยู่มากมาย สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ คือ ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมามีลักษณะที่เด่น แปลก สวยงาม และมีคุณค่าต่อการเข้าไปศึกษาหาความรู้หรือเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อให้สถานที่ท่องเที่ยวยังคงอยู่ตลอดไปควรจะต้องมีการป้องกันด้วยกันดังนี้ 1. การป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสียหาย อย่างเช่น เกิดไฟไหม้ป่า เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่เข้าไปถากถางนำเอาพื้นที่บางส่วนมาใช้ทำการเพาะปลูก การลักลอบเข้าไปล่าสัตว์ การปล่อยน้ำเสียต่าง ๆ ลงไปในแหล่งน้ำซึ่งทำให้น้ำเกิดมลภาวะขึ้นมา และการขีดเขียนข้อความต่าง ๆตามต้นไม้ โขดหิน โดยสิ่งเหล่านี้จะเป็นการทำให้สถานที่ท่องเที่ยวได้รับความเสียหายเกิดขึ้นดังนั้นการป้องกันสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญการรักษาสถานที่ท่องเที่ยวให้คงไว้ตามธรรมชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะคงสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนั้นๆ ให้คงอยู่ตลอดไป ทั้งควรมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างที่จะมีขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ 2.การรักษาความสะอาด นับว่ามีความสำคัญมากเพราะสถานที่ท่องเที่ยวจะน่าเที่ยวหรือไม่จะขึ้นอยู่กับความสะอาดเป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก โอกาสที่นักท่องเที่ยวจะสร้างความสกปรกเกิดขึ้นจึงมีมาก ดังนั้นผู้รับผิดชอบจึงต้องจัดหาเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดโดยตรงเพื่อเก็บกวาดเศษขยะ นอกจากนี้ทางสถานที่ท่องเที่ยวยังต้องหาสถานที่ทิ้งขยะอย่างเพียงพอ เพื่อที่นักท่องเที่ยวจะได้นำเอาสิ่งที่ไม่ต้องการไปทิ้ง เพราะขยะนอกจากจะทำให้สถานที่ท่องเที่ยวสกปรกแล้วยังอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าในบริเวณนั้นด้วย 3.ไม่ควรสร้างสิ่งก่อสร้างละปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวมากเกินไป เพราะจะทำให้ความเป็นธรรมชาติของสถานที่ท่องเที่ยวสูญเสียไป 4.การปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด เพื่อต้องการที่จะรักษาหรืออนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติเอาไว้ ผู้ใช้บริการจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบที่สถานที่ท่องเที่ยวนั้น 5.จัดเจ้าหน้าที่ในการดูแลและรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสถานที่ท่องเที่ยว 6. การประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปใช้บริการและการขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปเพื่อป้องกันมิให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปมากเกินกว่าสถานที่ท่องเที่ยวจะรับได้ และสามารถที่จะควบคุมให้นักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานที่ท่องเที่ยวได้
การจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและป่าชายเลนได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน
ในอดีตการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและป่าชายเลน ได้รับความสนใจมาก แต่ในเรื่องของหญ้าทะเลยังได้รับความสนใจน้อย อาจเป็นเพราะนักวิจัยด้านทรัพยากรหญ้าทะเลในประเทศไทยขาดแคลน ทำให้มีข้อมูลพื้นฐานอยู่น้อย แม้จะได้มีการศึกษาเรื่องหญ้าทะเลอยู่บ้างก็ตาม ภายใต้โครงการ ASEAN-Australia: LCR ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ต่อมาโครงการ UNEP GEF Project ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นโครงการในระดับภูมิภาคทะเลเอเชียตะวันออก ดำเนินการโดยกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อจัดทำโปรแกรมยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งของภูมิภาคและสนับสนุนให้มีการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพการจัดการแบบบูรณาการในกลุ่มประเทศประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีประเด็นทรัพยากรหลัก ดังนี้ ป่าชายเลน ปะการัง หญ้าทะเล พื้นที่ชุ่มน้ำ มลพิษจากแผ่นดิน และประมง ในโครงการดังกล่าวได้สรุปสถานภาพของทรัพยากรต่างๆ รวมถึงปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้น และได้มีการเสนอพื้นที่สาธิตเพื่อการทดลองร่วมกันบริหารจัดการแบบบูรณาการ ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการด้านหญ้าทะเลก็ได้มีการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมถึงองค์กรเอกชน กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ และหน่วยงานราชการ ในการให้และรวบรวมข้อมูลในระดับหนึ่ง เฉพาะพื้นที่ในอ่าวไทย เพื่อกำหนดร่างแผนการจัดการแหล่งหญ้าทะเลระดับชาติต่อไปเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตามในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2534 ทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะบริเวณหาดเจ้าไหม เกาะตะลิบง จังหวัดตรัง… Continue reading การจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและป่าชายเลนได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน
การรับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึง การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุงและใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผลต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดคุณภาพสูงสุดในการสนองความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างถาวรต่อไปการที่จะให้บรรลุเป้าหมาย คือ การที่จะทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้และอยู่คู่กับโลกตลอดไปได้นั้น มีหลักการอนุรักษ์ 3 ประการ คือ ใช้อย่างฉลาดการจะใช้ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงผลดี ผลเสีย ความขาดแคลนหรือความหายากในอนาคต อีกทั้งพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนอย่างถี่ถ้วนประหยัดของที่หายาก หมายถึง ทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายากควรเก็บรักษาไว้มิให้สูญไป บางครั้งถ้ามีของบางชนิดที่พอจะใช้ได้ต้องใช้อย่างประหยัดฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น กล่าวคือ ทรัพยากรใดก็ตามมีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่าหรือจะหมดไปถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรหาทางปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะที่ดีขึ้น การจัดการหมายถึงการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดการ การเก็บรักษา ซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด อีกทั้งการสงวนเพื่อให้สิ่งที่ดำเนินนั้นสามารถให้ผลยั่งยืน ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินการต่อทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถเอื้ออำนวยให้มวลมนุษย์มีใช้ตลอดไป โดยไม่ขาดแคลนและมีปัญหาใดๆ โดยใช้วิธีกาสงวน อนุรักษ์และพัฒนา สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ระบุไว้ดังนี้ การรับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือว่าเป็นความลับการได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่เกิดจากภัยอันตรายจากการแพร่กระจายของมลพิษจากกิจการหรือโครงการที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจริเริ่มสนับสนุนหรือดำเนินการการร้องเรียน กล่าวโทษผู้กระทำผิดที่ละเมิด หรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่ง เสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัดประเทศไทยกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
การใช้เทคโนโลยีในการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้ 1.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ – การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด – การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้ – การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก – การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความสมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น –… Continue reading การใช้เทคโนโลยีในการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม
กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ท่ามกลางเศรษฐกิจ สังคมที่กำลังพัฒนา ทำให้เกิดความตื่นตัวในการร่วมอนุรักษ์ รักษา เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม จากปัญหาความเสื่อมโทรม และผลกระทบ ที่เกิดจากทุกกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งจากชุมชน ภาคเกษตรกรรม การคมนาคมการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึง ภาคอุตสาหกรรม ที่ขยายตัวไปพร้อมกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งในปัจจุบันผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม ต่อท้องถิ่นยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ อุตสาหกรรม เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สามารถกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน มีการเติบโต และเกิดความก้าวหน้าในการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีในแขนงต่างๆ แต่ขณะเดียวกันเมื่อมีขบวนการผลิตเกิดขึ้นภายในสถานประกอบการ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือของเสีย หรือสารมลพิษที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ น้ำเสีย สารมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และขยะมูลฝอย อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการจัดการ เมื่อมีการปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ต่อชุมชนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืชและสัตว์ ปัญหาด้านผลกระทบของมลพิษจากสถานประกอบการ หรือโรงงานเป็นปัญหาท้าทายความสามารถของทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริหารท้องถิ่น หน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และชุมชน ในการบริหารจัดการ ตลอดจนการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน… Continue reading ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศให้คงอยู่ตลอดไป
ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่อำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่มนุษยชาติมากมายหลายประการ นับตั้งแต่รักษาดุลธรรมชาติ ควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศให้อยู่ในสภาพปกติ ไม่แปรปรวน รักษาต้นน้ำลำธาร พันธุ์พฤกษชาติและสัตว์ชาติ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ให้ให้มนุษย์ได้บริโภคใช้สอยและประกอบอาชีพการทำไม้ การเก็บหาของป่า การขนส่ง การอุตสาหกรรม การผลิตไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบจากไม้และของป่า ตลอดจนการส่งจำหน่ายเป็นรายได้แก่ประชาชนและประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย พื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการรักษาเสถียรภาพเชิงนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ความหลากหลายด้านชีววิทยา เป็นสถานที่พิเศษสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งความรู้ทางการศึกษา แต่การประกาศพื้นที่อนุรักษ์ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่เคยอาศัยในพื้นที่ เนื่องจากไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ทรัพยากรในอุทยานแห่งชาติได้ อย่างไรก็ดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้พยายามเสริมสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและบริหารจัดการป่าไม้ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ได้ในแนวทางการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน ให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลและบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติบางส่วน และให้ชุมชนสามารถอยู่อาศัยและทำกินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การทำลายป่าไม้นอกจากจะทำให้ปริมาณไม้ที่จะใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจลดลงโดยตรงแล้ว ยังเป็นผลที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างมากมายอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าป่าไม้ช่วยทำให้อากาศชุมชื้นเพราะป่าไม้จะช่วยเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้เกิดต้นน้ำลำธารและกระแสน้ำไหลไปตามปกติ ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ป่าไม้ยังช่วยทำให้เกิดพืชพันธุ์ไม้อื่นและสัตว์ป่า เนื่องจากต้นไม้จะนำคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศไปใช้ในปีหนึ่งๆนับล้านๆตัน เมื่อป่าไม้ถูกตัดทำลายลงในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีผลให้อุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น ทำให้อากาศร้อนและแห้งแล้ง การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ด้วยความร่วมมือทั้งภาครัฐเอกชน และประชาชน โดยรัฐบาลต้องมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้ 1.การคุ้มครองป่าไม้ 2.การควบคุมการตัดไม้ 3.การปลูกป่า 4.การป้องกันไฟป่าและแมลงทำลายต้นไม้ 5.การใช้ไม้อย่างประหยัด ใช้วัสดุอื่นแทนไม้ หรือการนำเศษไม้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 6.การปรามปราบผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า 7.การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของป่าไม้ 8.มีนโยบายเปิดป่าสัมปทานการทำป่าไม้เพื่อช่วยอนุรักษ์ป่า
การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งประเทศไทย โดยการบูรณาแนวทางที่หลากหลายเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย คือการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดเวลาที่ผ่านมามีการดำเนินงานด้านการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร การพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล งานฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล งานฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่ง การสนับสนุนด้านข้อมูลทางเทคนิคสำหรับท้องถิ่น ผู้ประกอบการท่องเที่ยว องค์กรพันธมิตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการร่วมขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ตลอดจนข้อกฎหมาย ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมากโดยขาดการจัดการที่เหมาะสม จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว และมีความพยายามที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพที่ดี ลดสภาพเสื่อมโทรมเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นเวลานาน และเป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบไปอยู่ตลอดเวลา การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเล เพื่อดำเนินงานอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเล เสริมการดำเนินโครงการอนุรักษ์ให้ปรากฏผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลาที่รวดเร็ว มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุให้สัมฤทธิ์ผลในระดับหนึ่ง ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้นในบริเวณทะเลและชายฝั่ง อันอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย เลน น้ำ พืช ป่าชายเลน ส่วนประกอบของพืชหรือส่วนประกอบของสัตว์ และหมายรวมถึงความสวยงามที่ประกอบขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่หรือที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น ด้วยความตระหนักว่าการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเอกภาพขาดการบูรณาการและไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จึงได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง| – กำหนดมาตรการสงวน อนุรักษ์ฟื้นฟู และคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง – ดำเนินการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และค้มครองทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง – ดำเนินการ… Continue reading การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
สิ่งสำคัญในการดูแลความสะอาดทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่กับเราได้นาน
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลายจะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น… Continue reading สิ่งสำคัญในการดูแลความสะอาดทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่กับเราได้นาน