องค์กรต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ปัจจุบันเราทราบดีแล้วว่า สิ่งแวดล้อมของโลกได้ถูกมนุษย์ทำลายลงเป็นอย่างมาก เช่น การ ตัดไม้ทำลายป่า การกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก การใช้ สารเคมีในการปราบศัตรูพืชมากเกินไป ทำให้เกิดผลตามมา เช่น แมลงดื้อยา ดินเสื่อมสภาพ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปของสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดบนโลก รวมทั้งมนุษย์ด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้น เราจึงหันมาให้ความสนใจในการที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในสภาพที่ดีอย่างยั่ง ยืน โดยมีหลักการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน
123
ปัญหาที่เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นปัญหา ที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ต่อแหล่งธรรมชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม มากกว่าเกิดจากการกระทำของธรรมชาติ ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้ จึงต้องดำเนินการโดยมนุษย์เอง โดยจะต้อง ให้มีการจัดการ ในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อให้แหล่งธรรมชาติ คงไว้ซึ่งคุณค่า ความสำคัญและให้การเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีดังนี้
1. ให้หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันวางแผนในการดำเนินการป้องกัน สงวน รักษาและอนุรักษ์ไว้ ซึ่งคุณค่าความสำคัญ และสภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ อย่างจริงจัง ทั้งนี้ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จัดทำหลักเกณฑ์การพัฒนาเทคนิควิธีการประเมินคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและกำหนดมาตรการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์แต่ละประเภทให้ชัดเจนรวมทั้งจัดทำแนวทางขอบเขตการศึกษาการจัดทำแผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติเฉพาะแหล่งให้หน่วยงาน ท้องถิ่นที่รับผิดชอบ แหล่งธรรมชาตินั้นๆ นำไปใช้ ในการวางแผนการจัดการพื้นที่แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์
2. ควรนำกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมาบังคับใช้อย่างจริงจัง หรือเร่งการออกหรือปรับปรุงแก้ไขและการบังคับใช้กฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ นอกจากนั้นหากพื้นที่แหล่งธรรมชาติที่สำคัญมีคุณค่าสูงหาได้ยากยิ่ง และมีปัญหาเร่งด่วนในการป้องกันแก้ไขปัญหา ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม รีบดำเนิน
การจัดทำแผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และกำหนดการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
3. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ที่เข้าไปใช้ประโยชน์ให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ เพื่อให้มีการหลีกเลี่ยง การใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่ายิ่ง และควบคุมไม่ให้มีการดัดแปลง ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์
4. ควรให้มีการจัดตั้งเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบสภาพแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ และเสนอแนะ แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์เพิ่มเติม รวมทั้งสำนักงานฯ ควรปรับปรุงระบบฐานข้อมูลแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และทันสมัย มีความสามารถติดต่อประสานงานกับเครือข่ายท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้น