เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%88%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า

“หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้”

%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%8a%e0%b8%a5%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%8c

เช่นเดียวกับ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนสร้างขึ้นจากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งก่อเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง

ประโยชน์ที่ได้จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คือ

  • เป็นแหล่งสำหรับอุปโภค บริโภคของประชาชนในเขตลพบุรีและสระบุรี
  • เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเขตลพบุรีและสระบุรี
  • เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในเขตลพบุรีและสระบุรี
  • เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่และแหล่งเพาะพันธ์ปลา
  • ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง และการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย
  • เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเดิม
  • ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีขยายตัวมากขึ้น
  • ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีรวมทั้งในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ